ศ.จรัส สุวรรณเวลา ประธานคณะกรรมการอิสระเพื่อการปฏิรูปการศึกษา(กอปศ.) เปิดเผยว่า ที่ประชุมได้พิจารณาเรื่องความมีส่วนร่วมของภาคเอกชนในการจัดการศึกษา ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2560 ที่จะนำไปสู่การปรับแก้ พ.ร.บ.โรงเรียนเอกชน ซึ่งจากข้อมูลปัจจุบันพบว่าปัญหาของโรงเรียนเอกชนมีความแตกต่างและนำไปสู่สภาพวิกฤติ มีโรงเรียนเอกชนหลายแห่งที่เป็นโรงเรียนขนาดใหญ่ชั้นดี และมีนักเรียนจำนวนมาก ตัดสินใจปิดโรงเรียน เพราะกลไกที่มีอยู่ กฎหมายไม่เอื้อ ไม่สนับสนุนให้ดำเนินกิจการ ส่วนโรงเรียนที่พยายามจะสู้ก็สู้ค่าใช้จ่ายไม่ไหว ซึ่งปัญหาหนึ่งคือการเพิ่มการให้เงินอุดหนุนด้านต่างๆให้แก่นักเรียนในโรงเรียนของรัฐในส่วนต่างๆ จึงมีการดึงนักเรียนออกมาจากโรงเรียนเอกชน ทำให้โรงเรียนเอกชนได้รับเงินอุดหนุนรายหัวน้อยตามจำนวนนักเรียนที่ลดลง ขณะเดียวกันประโยชน์ของโรงเรียนเอกชนก็มีมาก เช่น ความเป็นอิสระของโรงเรียนเอกชนสามารถสร้างคุณภาพได้ เนื่องจากมีความคล่องตัวในการบริหารจัดการ ซึ่ง กอปศ.เห็นว่า รัฐไม่ควรใช้กลไกอะไรที่ไปทำร้ายโรงเรียนเอกชน ทำให้มีความยากลำบากมากขึ้น จนถึงบางแห่งต้องเลิกกิจการ โดยเรื่องการแก้ไข พ.ร.บ.โรงเรียนเอกชนนี้เป็นการแก้ไขกฎหมายลูก จะใส่ไว้ในรายละเอียดของแผนปฏิรูปประเทศด้านการศึกษา เพื่อเป็นการเตรียมรายละเอียดในการดำเนินการ หลังจากที่ กอปศ.ได้เสนอร่าง พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติฉบับใหม่ และแผนปฏิรูปประเทศด้านการศึกษาไปแล้ว

     ดร.ชัยพฤกษ์ เสรีรักษ์ เลขาธิการสภาการศึกษา (สกศ.) กล่าวว่า การจัดการศึกษาเป็นหน้าที่ของรัฐ ซึ่งไม่ใช่รัฐจัดเองทั้งหมด โดยต้องสนับสนุนเอกชน และท้องถิ่นด้วย ซึ่งการสนับสนุนนี้ครอบคลุมทั้งเอกชนที่จัดการศึกษาสายสามัญศึกษา และอาชีวศึกษา ครอบคุลมเรื่องความเสมอภาคของเด็กในโรงเรียนรัฐและเอกชนต้องได้รับการอุดหนุนเท่ากัน เงินอุดหนุนโรงเรียนเอกชนขนาดเล็กของรัฐได้ โรงเรียนขนาดเล็กของรัฐได้ โรงเรียนเอกชนก็ต้องได้เช่นเดียวกัน รวมถึงการดูแลสวัสดิการสวัสดิภาพของครูซึ่งในส่วนที่เป็นเรื่องพื้นฐานต้องได้เท่ากันและบวกความเป็นโรงเรียนเอกชนเพิ่ม เป็นต้น.

0 0 votes
Article Rating
Subscribe
Notify of
guest

0 Comments
Oldest
Newest Most Voted
Inline Feedbacks
View all comments