รศ.ดร.สมหมาย ผิวสอาด อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี(มทร.ธัญบุรี) เผยว่า มหาวิทยาลัย นำโดยคณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ รองคณบดีฝ่ายวิชาการ ผู้ช่วยคณบดี คณาจารย์ พร้อมด้วยนักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์ เข้าร่วมพิธีเปิดการแข่งขันราชมงคลวิชาการวิศวกรรมระดับชาติ ครั้งที่ 13 “The 13th national Rajamangala Engineering Academic Contest” รวมถึงเข้าร่วมการแข่งขันหลายรายการ โดยมีกลุ่มสถาบันเครือข่ายคณะวิศวกรรมศาสตร์ คณาจารย์และนักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์ จาก มทร. ทั้ง 9 แห่ง ประกอบด้วย มทร.ธัญบุรี มทร.กรุงเทพมทร.ตะวันออก มทร.พระนคร มทร.รัตนโกสินทร์ มทร.ศรีวิชัย มทร.สุวรรณภูมิมทร.อีสาน และ มทร.ล้านนา ซึ่งจากการเข้าร่วมการแข่งขันทั้งหมด มทร.ธัญบุรี ได้ทั้งหมด 11 รางวัล ด้วยกัน และทางคณะวิศวกรรมศาสตร์ มทร.ธัญบุรี ได้รับไม้ต่อเพื่อเปิดบ้านเป็นเจ้าภาพในการจัดแข่งขันราชมงคลวิชาการวิศวกรรมระดับชาติในครั้งต่อไป
ด้าน รศ. ดร.สรพงษ์ ภวสุปรีย์ คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ มทร.ธัญบุรี กล่าวว่าในการเข้าร่วมการแข่งขันทั้งหมด มทร.ธัญบุรี ได้ทั้งหมด 11 รางวัล ประกอบด้วย รางวัลชนะเลิศ 6 รายการ คือ 1.การแข่งขันระบบอัตโนมัติทางอุตสาหกรรม โดยนายนพนรรจ์ฟูใจ และนายพีรพัฒน์ น้อยบัวงาม (อ.ผู้ควบคุม ดร.ศีลวัต ร่มโพธิ์ชัย) 2.การแข่งขันการออกแบบและติดตั้งระบบควบคุมมอเตอร์ด้วยไฟฟ้า PLC โดยนายพัสกร พรมพัตร และนายทีปกร ภูเมศว์ (อ.ผู้ควบคุม ผศ.ดร.ฉัตรชัย ศุภพิทักษ์สกุล) 3.การแข่งขันการออกแบบและสร้างเครื่องขยายสัญญาณเสียงคาราโอเกะดิจิทัล โดยนายพรพรหม ลิขิตพงศธร นายพัสกร พุ่มแก้ว นายรู้คุณ อ่อนพร้อม นายธนากร หาสัตว์ และนายศุภกรคงชล (อ.ผู้ควบคุม ผศ.พงษ์ศักดิ์ อำภา และผศ.ปราชญ์ อัศวนรากุล) 4.การออกแบบและสร้างสายอากาศสำหรับการรับสัญญาณโทรทัศน์ระบบดิจิทัล ภาคพื้นดิน โดยนางสาวสุดารัตน์ อนันตสุข และนางสาวเบญจวรรณ ประจิตร (อ.ผู้ควบคุม อ.ชวลิต รักเหลือ และผศ.ทินวัฒน์ จังจริง) 5.การแข่งขันออกแบบและสร้างชิ้นงานโลหะแผ่นด้วยตัวแปรทางคณิตศาสตร์ (แบบสาธิต) โดยนายชัยมลคล กำไม นายภูมินทร์ จำชาติ และนางสาวธนัชญา ตันประเสริฐ (อ.ผู้ควบคุม ผศ.ดร.พันธุ์พงษ์ คงพันธุ์) และ 6.การแข่งขันทางสิ่งแวดล้อม “น้ำเสียสู่น้ำใส” โดยนางสาวพัชราภรณ์ บุญมาวัตร์ นางสาวพิมพ์ชยา แป้นศิริ และนายนำชัย พนาสันต์ (อ.ผู้ควบคุม อ.คฑาพล ปิ่นพัฒนพงศ์ และผศ.ดร.จรุงวิทย์ บุญโนรัตน์)
รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 จำนวน 2 รายการ คือ 1.การแข่งขันออกแบบและพัฒนาแพลตฟอร์มไอโอทีเพื่อสร้างผลิตภัณฑ์ต้นแบบสําหรับการเกษตรอัจฉริยะ โดยนายณนฐกร ชูประยูร นายพงศธร พิพัฒน์ไพฑูรย์ และ นายสิรวิชญ์ นางาม (อ.ผู้ควบคุม ผศ.เจษฏา อรุณฤกษ์) 2.การแข่งขันการติดตั้งรางรถไฟและอุปกรณ์ยึดเหนี่ยวราง โดยนายวีรชล จันทร์มูล นายณัฐกิตติ์ จิตราพิเนตร นายศุภวิชญ์ จันทร์สุวรรณ นายอภิสิทธิ์ กรุดน้อย และนายวรนาท สุวรรณ์ (อ.ผู้ควบคุม อ.นพพร เปรมใจ และดร.วินัยจันทร์เพ็ง)
รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 จำนวน 3 รายการ คือ 1.การแข่งขันโครงสร้างต้านทานแผ่นดินไหว โดยนายทรงพล แดงรอด นายธนวิชญ์ สุวรรณรัตน์ และนายวิทยา ต๊ะสุทา (อ.ผู้ควบคุม ดร.วงศา วรารักษ์สัจจะ และนายจักรกฤษณ์ นุ่นประสิทธิ์) 2.การแข่งขันการสร้างแบบจําลองด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ด้วยโปรแกรม FlexSim (แบบสาธิต) โดยนางสาววนิดา เทศเกษม และนางสาวน้ำทิพย์ นันตวัน (อ.ผู้ควบคุม ดร.ก้าวหน้า จงวัฒนารักษ์) และ 3.การแข่งขันงานเชื่อมโลหะด้วยกระบวนการเชื่อมแบบ SMAW โดยนายนวพล คุมมงคล และนายชยานันท์ ศรีมั่น (อ.ผู้ควบคุม ผศ.ประจักษ์ อ่างบุญตา และผศ.ไพศาล ทองสงค์)
ทั้งนี้ การแข่งขันราชมงคลวิชาการวิศวกรรมระดับชาติ เป็นเวทีให้นักศึกษาในกลุ่มสถาบันเครือข่าย คณะวิศวกรรมศาสตร์ มทร. ทั้ง 9 แห่ง ในการแข่งขันทักษะวิชาชีพการประกวดโครงงานและสิ่งประดิษฐ์ การประกวดโปสเตอร์สหกิจศึกษา และกิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านการเรียนการสอนและงานวิจัยในสาขาต่าง ๆ ของคณาจารย์และนักศึกษา ที่ให้ได้แสดงศักยภาพ ลงมือปฏิบัติ แลกเปลี่ยนองค์ความรู้ร่วมกันในเครือข่ายที่เกิดขึ้นและที่สำคัญทางคณะวิศวกรรมศาสตร์ มทร.ธัญบุรี ได้รับมอบธงเพื่อเปิดบ้านเป็นเจ้าภาพในการจัดแข่งขัน ราชมงคลวิชาการวิศวกรรมระดับชาติ ในครั้งต่อไป