เมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2565 ที่จังหวัดปราจีนบุรี ดร.กนกวรรณ วิลาวัลย์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ(รมช.ศึกษาธิการ) ลงพื้นที่จัดกิจกรรมมหกรรมฝึกอาชีพชุมชน สำหรับประชาชน ประจำปีงบประมาณ 2565 ระหว่างวันที่ 26-27 มีนาคม 2565 โดยมีนายวัลลพ สงวนนาม เลขาธิการ สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย(กศน.) พร้อมด้วยข้าราชการและหน่วยงานเครือข่ายในพื้นที่จังหวัดปราจีนบุรี มาร่วมกิจกรรม

ทั้งนี้ ดร.กนกวรรณ กล่าวว่า ตนได้มอบนโยบายให้ กศน. สำรวจความต้องการของประชาชนโดยเฉพาะการปักหมุดสร้างโอกาสทางการศึกษา ตามนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ เพื่อดูว่าประชาชนที่หลุดจากระบบการศึกษามีจำนวนเท่าไหร่ จากนั้นก็ให้ไปตามกลับมาสู่ระบบการศึกษา โดยใครต้องการกลับ ไปเรียนโรงเรียนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(สพฐ.)ก็ให้กลับไปที่ สพฐ. แต่หากใครไม่สะดวกก็ให้มาเรียนกับกศน.  และหากสำรวจพบว่าเป็นคนพิการก็ให้นำข้อมูลมาจัดการศึกษาให้เหมาะสมกับแต่ละบุคคลใครประสงค์จะเรียนแบบไหนก็จัดให้เฉพาะราย โดยเน้นความยั่งยืนในเรื่องอาชีพเป็นสำคัญ ถ้าคนพิการ มีความพิการเกินกว่าจะเรียนได้และต้องการประกอบอาชีพอะไร คนในครอบครัวของผู้พิการจะต้องได้รับการเยียวยาให้สามารถมีอาชีพดูแลคนพิการได้โดยเป็นอาชีพที่สามารถทำได้ พร้อมกับดูแลคนพิการไปด้วย

รมช. ศึกษาธิการ กล่าวต่อไปว่า ในการสำรวจความต้องการของประชาชนจะดูเรื่องของโครงการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและการต่อยอดสืบสานพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 และรัชกาลที่ 10 รวมถึงส่งเสริมการนำภูมิปัญญาต่างๆในท้องถิ่น ปราชญ์ชาวบ้านมาจัดกิจกรรมร่วมกับภาคีเครือข่ายทั้งที่เป็นสถานศึกษาภาครัฐ ภาคเอกชนทุกระดับ ไม่ว่าจะสังกัดกระทรวงศึกษาธิการด้วยกันหรือหน่วยงานอื่น เช่นกระทรวงมหาดไทย(มท.) กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.)องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์การบริหารส่วนจังหวัด(อบจ.)องค์การบริหารส่วนตำบล(อบต.)ธนาคารออมสิน เพื่อเสริมเติมเต็มให้เกิดความเข้มแข็งทั้งในระดับชุมชน หมู่บ้านขึ้นไป

ดิฉันได้มอบนโยบายให้เลขาธิการ กศน.ไปดูแลเรื่องงานการส่งเสริมอาชีพให้ประชาชนในจังหวัดต่างๆ ให้เกิดความเข้มแข็ง  โดยให้เน้นการต่อยอดในแง่ความยั่งยืนตามความถนัดตามบริบทของท้องถิ่นรวมถึงสอนเรื่องการส่งเสริมการขาย การฝากขาย และต่อยอดไปเรื่องนวัตกรรมการออกแบบบรรจุภัณฑ์ โดยบางเรื่องอาจจะต้องไปขอความร่วมมือจากหน่วยงานอื่นให้มาช่วยเสริมเติมเต็ม และหากเรื่องใดที่จะไปถึงขั้นจดอนุสิทธิบัตรเหมือนผลิตภัณฑ์ผ้าทอมือจากผักตบชวาของจังหวัดพระนครศรีอยุธยาได้ก็จะช่วยประสานงานให้ดร.กนกวรรณกล่าว

ด้านนายวัลลพ กล่าวว่าตามที่สำนักงาน กศน. ได้ดำเนินการจัดให้มีการศึกษาต่อเนื่องเพื่อพัฒนาอาชีพตามภารกิจของโครงการศูนย์ฝึกอาชีพชุมชน โดยใช้สถานศึกษากศน.ระดับอำเภอ และ กศน.ตำบล/แขวง เป็นฐานการจัดกิจกรรมฝึกอาชีพ ให้ประชาชนระดับฐานรากที่อาศัยอยู่ในระดับตำบล ประกอบด้วยกลุ่มเป้าหมายผู้ด้อยพลาด ขาดโอกาส ได้รับการพัฒนาสมรรถนะและทักษะในการดำรงชีวิตให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี การขับเคลื่อนการศึกษา โดยให้ความสำคัญกับการจัดการศึกษาเพื่อการพัฒนาทักษะอาชีพระยะสั้น ประกอบด้วยหลักสูตร 5 กลุ่มอาชีพ คือ หลักสูตรกลุ่มอาชีพด้านเกษตรกรรม หลักสูตรกลุ่มอาชีพด้านอุตสาหกรรม หลักสูตรกลุ่มอาชีพ ด้านพาณิชยกรรมและบริการ หลักสูตรกลุ่มอาชีพด้านความคิดสร้างสรรค์ และหลักสูตรกลุ่มอาชีพเฉพาะทาง เพื่อตอบสนองนโยบายของรัฐบาลและยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ยุทธศาสตร์ข้อที่ 3 ยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ เป้าหมายเพื่อพัฒนาคนและสังคมไทยให้เป็นรากฐานที่แข็งแกร่งของประเทศ

สำนักงาน กศน.จังหวัดปราจีนบุรี  ได้เห็นความสำคัญในการขับเคลื่อนนโยบายเร่งด่วน (Quick win) ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้อาชีพระยะสั้น เพื่อสร้างรายได้ สร้างอาชีพใหม่ และต่อยอดอาชีพเคลื่อนที่ การสร้างโอกาสในการเข้าถึงการศึกษาให้กับประชาชนในจังหวัดปราจีนบุรี เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต และเพิ่มทักษะในการประกอบอาชีพ จึงได้จัดโครงการกิจกรรมมหกรรมฝึกอาชีพสำหรับประชาชน ประจำปีงบประมาณ .. 2565 นี้ขึ้น เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเป้าหมาย ได้รับโอกาสในการฝึกอาชีพ พัฒนาตนเองและครอบครัว การนำความรู้ไปสร้างรายได้ มีการประกอบอาชีพและต่อยอดอาชีพเดิม  เพื่อการพัฒนาหลักสูตรอาชีพที่นิยมเรียนและประสบความสำเร็จ และเพื่อประชาสัมพันธ์ส่งเสริม สนับสนุนให้เกิดช่องทางการจำหน่ายผลิตภัณฑ์เลขาธิการ กศน.กล่าว

0 0 votes
Article Rating
Subscribe
Notify of
guest

0 Comments
Oldest
Newest Most Voted
Inline Feedbacks
View all comments