เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2565 น.ส.ตรีนุช เทียนทอง รมว.ศึกษาธิการ (ศธ.) กล่าวเปิดงานเสวนา “วัคซีนเด็ก เติมภูมิคุ้มกัน มั่นใจเปิดเรียน On Site พร้อมใช้แผนเผชิญเหตุทุกสถานการณ์ ” ภายใต้ความร่วมของ 3 กระทรวง  คือ  กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) และกระทรวงมหาดไทย (มท.) ว่า กว่า 2 ปี ทั่วโลกต้องเผชิญสถานการณ์แพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 แต่วันนี้ เราเริ่มเข้าใจและรู้ว่าจะใช้ชีวิตร่วมกับโควิด-19 อย่างไร ทั้งนี้หน่วยงานที่จัดการศึกษามีความห่วงใยเรื่องการจัดการศึกษา โดยเฉพาะพล.อ.ประยุทธ์  จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีมีความห่วงใยและได้อนุมัติวัคซีนให้นักเรียนอายุ 12-18 ปี และครู ฉีดเข็มแรกฉีดไปแล้วกว่า 99% และทยอยฉีดเข็ม 2 กว่า 80% ทั้งนี้ ศธ. ได้ร่วมมือกับสธ.มาโดยตลอด และกำลังจะเริ่มฉีดวัคซีนให้เด็กอายุ 5-11 ปี อย่างไรก็ตาม การเปิดเรียนออนไซต์ทราบว่า หลายพื้นที่มีความกังวลขอยืนยันว่า โรงเรียนที่เปิดสอนออนไซต์จะดำเนินการตามมาตรการ Thai stop COVID-19 อย่างเคร่งครัด

ดร.สุภัทร  จำปาทอง ปลัดศธ. กล่าวว่า ขณะนี้มีเด็กในระบบการศึกษา กว่า 9.7 ล้านคน  จากทุกหน่วยงานที่จัดการศึกษา ซึ่งมีโรงเรียนทยอยเปิดออนไซต์จำนวนมาก  ทั้งนี้ศธ.ได้ทำการสำรวจข้อมูลการเปิดเรียนออนไซต์ จาก 77 จังหวัด ส่งข้อมูลมาแล้ว 40 จังหวัด เปิดเรียนออนไซต์แล้ว 79.32% ที่เหลืออีก 37 จังหวัดยังไม่ส่งข้อมูลมา แต่คิดว่ามีจำนวนใกล้เคียงกัน สำหรับการสำรวจจำนวนที่ประสงค์ให้เด็ก ช่วงอายุ 5-11 ปี ฉีดวัคซีนนั้น  จากจำนวนนักเรียนทั้งในและนอกสังกัด ศธ. ทั้งประเทศจำนวน 5,381,431 คน จากการสำรวจข้อมูลล่าสุด มีจังหวัดส่งข้อมูลมาแล้ว 61 จังหวัด  ทำการสำรวจเด็ก4,185,000 คน คิดเป็น 78%  ประสงค์ฉีดวัคซีน 2,570,000 คน คิดเป็น 61.4% เชื่อว่าผู้ปกครองจะแสดงความประสงค์ให้นักเรียนฉีดวัคซีนเพิ่มขึ้น

ดร.อัมพร พินะสา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) กล่าวว่า สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) มีความพยายามจัดการเรียนการสอนที่หลากหลาย แต่พบว่า การเรียนออนไซต์เป็นวิธีการที่มีคุณภาพทำให้เกิดการเรียนรู้มากที่สุด ประกอบการสถานการณ์โควิด-19 ก็มีแนวโน้มที่ลดลง รมว.ศึกษาธิการ จึงให้เปิดเรียนออนไซต์วันที่ 1 พ.ย. 2564 ต่อมามีการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 สายพันธุ์โอมิคอน ซึ่งถือเป็นเชื้อที่มีโอกาสติดได้เร็ว แต่ความรุ่นแรงไม่มาก สพฐ. จึงมีแนวคิดที่จะเปิดเรียนออนไซต์ ตามนโยบายของศธ.  ขณะเดียวกันสพฐ. ได้มีการสำรวจ พบว่า โรงเรียนมีความต้องการเปิดเรียนออนไซต์ จึงอยากสื่อสารกับโรงเรียนและผู้ปกครอง ว่า การเปิดโรงเรียนจะต้องมีความปลอดภัย เป็นไปตามแผนเผชิญเหตุ และอยากรณรงค์ให้ทุกคนมาฉีดวัคซีนมากที่สุด  เพื่อเปิดโอกาสให้โรงเรียนเปิดเรียนออนไซต์ให้ได้มากที่สุด ทั้งนี้การเปิดเรียนออนไซต์ไม่ได้หมายความว่าจะบังคับให้นักเรียนมาเรียนทุกคนต้องมาเรียนที่โรงเรียน หากผู้ปกครองยังไม่มั่นใจ สามารถให้บุตร หลายเรียนออนไลน์ได้ การเรียนออนไซต์ถือเป็นช่องทางหนึ่ง

นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค  กล่าวว่า  ปัญหาใหญ่ที่ทำให้ไม่สามารถเปิดออนไซต์ได้ อยู่ที่ความกังวลของผู้ปกครองและความกังวลของผู้บริหารจังหวัด ว่าจะมีตัวเลขผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้น ดังนั้นขอเรียนว่า ประเทศไทยผ่านสถานการ์แพร่ระบาดใหญ่มาแล้ว การฉีดวัคซีน และการรักษาดีค่อนข้างมาก การฉีดวัคซีนเพิ่มขึ้น ไม่อยากให้กังวลกับตัวเลขของผู้ติดเชื้อ เพราะขณะนี้โควิด-19 ใกล้จะเข้าสู่โรคประจำถิ่น ที่คนสามารถอยู่ร่วมกันได้ มีอาการติดเชื้อไม่รุนแรง  ทั้งนี้เข้าใจว่า ผู้ปกครองกังวลว่า เด็กจะเป็นหนูทดลอง ตนขอยืนยันในความปลอดภัย โดยวัคซีนที่ทั่วโลกอนุมัติให้ใช้กับเด็ก คือ ไฟเซอร์ เป็นวัคซีนในกุล่ม mRNA และ วัคซีนเชื้อตาย  โดยวัคซีนที่จะนำมาฉีดให้เด็กจะคำนึงถึงประสิทธิภาพและความปลอดภัย ส่วนวัคซีน ไฟเซอร์ฝาสีส้ม สั่งซื้อไป 10 ล้านโดส ผู้ผลิตแจ้งจะส่งมอบจะจัดส่งให้ประเทศไทยจังหวัดสัปดาห์ละ 3 แสนโดส สธ.จัดสรรวัคซีนเพื่อให้บริการฉีดวัคซีนผ่านสถานศึกษา  ฉีดวัคซีนวัคซีนให้นักเรียนชั้นป.6 ที่อายุต่ำกว่า 12 ปีก่อน จากนั้นฉีดวัคซีนให้ชั้นอื่น ๆ จนถึงชั้นป.1   ขณะเดียวกัน สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา(อย.) อยู่ระหว่างการพิจารณาขึ้นทะเบียนวัคซีนซิโนแวค สำหรับฉีดในเด็กอายุ 3-17 ปี เพื่อเป็นทางเลือกในการเข้ารับวัคซีนต่อไป

นพ. สราวุฒิ บุญสุข รองธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า จากข้อมูลการติดเชื่อในสถานศึกษา เกิดจากการร่วมกลุ่มของเด็ก แม้โรงเรียนจะดำเนินการตามมาตรการอย่างเคร่งครัด และมีการฉีดวัควัคซีนครบแล้ว โดยเฉพาะกลุ่มโรงเรียนประจำ ที่มีการร่วมกลุ่มพบว่ามีการติดเชื้อค่อนข้างมาก แต่มีข้อดีคือไม่ได้มีการนำไปแพร่เชื้อภายนอก เพราะมีการกักตัวในพื้นที่เดียวกัน ทางแก้ขอเน้นย้ำ ให้สวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลาที่มีการจัดกิจกรรมร่วมกลุ่มและจัดกิจกรรมที่เป็นการร่วมกลุ่มขนาดเล็ก

0 0 votes
Article Rating
Subscribe
Notify of
guest

0 Comments
Oldest
Newest Most Voted
Inline Feedbacks
View all comments