เมื่อวันที่ 26 มกราคม 2565 น.ส.ตรีนุช เทียนทอง รมว.ศึกษาธิการ เปิดเผยภายหลังประชุมติดตามนโยบายร่วมกับผู้บริหารระดังสูงของกระทรวงศึกษาธิการ(ศธ.) ว่า ตนติดตามและเร่งรัดโครงการพาน้องกลับมาเรียน เพื่อส่งเสริมโอกาส สร้างความเสมอภาคและความเท่าเทียมทางการศึกษา ที่จะจัดทำแอพพิเคชันเพื่อปักหมุดและดึงเด็กตกหล่นกลับเข้าสู่ระบบการศึกษา โดยมอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) สำนักงานคณะกรรมส่งเสริมกรศึกษาเอกชน (สช.) และสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.) ไปจัดทำแผนการทำงานว่าจะบูรณาการทำงานร่วมกันอย่างไร เพื่อดึงเด็กเข้าสู่ระบบการศึกษา สำหรับในส่วนภูมิภาคก็ต้องทำงานให้สอดรับกับนโยบายที่ให้ไปด้วย โดยให้คณะกรรมการศึกษาธิการจังหวัด (กศจ.) แต่ละจังหวัดเข้ามาช่วยติดตามเด็กเข้าระบบอีกทางหนึ่ง

รมว.ศึกษาธิการ กล่าวต่อไปว่า  นอกจากนี้ตนยังได้ติดตามการพัฒนาโรงเรียนคุณภาพชุมชน ซึ่งยอมรับว่าไม่สามารถการพัฒนาโรงเรียนคุณภาพชุมชนได้พร้อมกันทั้ง 30,000 แห่งทั่วประเทศ แต่ สพฐ.ก็มีแผนการดำเนินการอยู่แล้ว เช่น มีการเปิดตัวโรงเรียนคุณภาพเฟสแรกไปแล้ว 349 แห่ง แต่อยากให้ไปรวบรวมข้อมูลเพิ่มเติมว่า เขตพื้นที่ฯไหนควรนำมาเพิ่มเป็นจุดเน้นที่จะพัฒนาโรงเรียนคุณภาพให้สามารถจับต้องได้ เห็นเป็นรูปธรรมมากขึ้น เพื่อให้โรงเรียนโดยรอบมาใช้ทรัพยากรร่วมกัน ทั้งนี้ยังเน้นย้ำ สพฐ.ด้วยว่า หากพบปัญหา เช่น นักเรียนไม่มีค่ารถเดินทางไปเรียนโรงเรียนแม่ข่าย หรืออะไรที่เป็นอุปสรรค ก็ให้เร่งแก้ไขปัญหาในทุกประเด็น

“ดิฉันคิดว่าการสร้างโรงเรียนคุณภาพจะต้องสร้างให้สอดคล้องกับบริบทของแต่ละพื้นที่ โดยส่วนกลางจะให้เป้าหมายไป และให้แต่ละพื้นที่ออกแบบการศึกษาให้สอดคล้องกับบริบทของตน เพราะเราไม่สามารถตัดเสื้อตัวเดียวให้ทุกพื้นที่ไปปฏิบัติตามได้ทั้งหมด เนื่องจากแต่ละพื้นที่มีความแตกต่างกัน และอยากให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมจัดการเรียนการสอนกับโรงเรียนด้วย”รมว.ศึกษาธิการกล่าวและว่า จากการที่ได้ลงพื้นที่ตรวจสอบโรงเรียนคุณภาพ เพื่อจะรับฟังเสียงสะท้อนของแต่ละพื้นที่ และติดตามโครงการ อาชีวะอยู่ประจำ เรียนฟรี มีอาชีพ ตนได้เน้นย้ำว่า ขอให้ สอศ.ทำงานประสานกับ สพฐ.ให้ดี เพื่อให้สถานศึกษาทราบจำนวนเด็ก ทราบปัญหาของเด็ก ทราบความต้องการของผู้เรียนว่าต้องการเรียนสาขาไหน  เพื่อให้อาชีวะสามารถรองรับให้เด็กเหล่านี้เข้ามาสู่ระบบการศึกษาได้

0 0 votes
Article Rating
Subscribe
Notify of
guest

0 Comments
Oldest
Newest Most Voted
Inline Feedbacks
View all comments