เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน 2564 ดร.สุเทพ แก่งสันเทียะ เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา(กอศ.) กล่าวในการมอบนโยบายการประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการการขับเคลื่อนนโยบายการจัดการศึกษาในเชิงพื้นที่ โดยมีประธานกรรมการอาชีวศึกษาภาค 5 แห่ง และ ประธานกรรมการอาชีวศึกษาจังหวัด 76 แห่ง เข้าร่วมประชุม ณ วิทยาลัยเทคนิคปราจีนบุรี ว่า สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) มุ่งเน้นการยกระดับพัฒนาคุณภาพการจัดการอาชีวศึกษาในระดับพื้นที่สถานศึกษา ขับเคลื่อนการดำเนินงาน “ศูนย์อาชีวศึกษาทวิภาคีเขตพื้นที่” และพัฒนาทักษะสมรรถนะวิชาชีพกำลังคนให้ตอบโจทย์ความต้องการของประเทศ เน้น ปลอดภัย ตามนโยบายกระทรวงศึกษาธิการ  โดยขณะนี้ครู อาชีวศึกษาได้รับฉีดวัคซีนเกิน 90 %  โดยขอความร่วมมือในการเข้ารับการกระตุ้นเข็ม 3 เพื่อให้ได้ประสิทธิภาพในการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด -19 ให้ได้มากที่สุด และเป็นการสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ ในส่วนของนักเรียน นักศึกษา ขอให้อาชีวศึกษาจังหวัดทุกจังหวัดไปประชาสัมพันธ์และประสานการฉีดวัคซีนให้ผู้เรียนอย่างทั่วถึง เพื่อให้สามารถจัดการเรียนการสอนแบบ On Site ตามเงื่อนไขและมาตรการการป้องกันการแพร่ะบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) โดยใช้นโยบายการจัดการศึกษาเชิงพื้นที่ประสานการเปิดสถานศึกษา  เช่น ในบางพื้นที่ระดับอำเภอที่ไม่มีการแพร่ระบาดหรือมีการแพร่ระบาดน้อย หรืออยู่ในพื้นที่สีส้ม หรือ สีเขียว ที่เสี่ยงน้อย ทั้งนี้เพราะอาชีวศึกษามีความจำเป็นต้องเปิดการเรียนการสอนแบบในรูปแบบ On Site ให้ได้โดยเร็วและมีประสิทธิภาพ เพื่อสร้างสมรรถนะให้ผู้เรียนตรงกับความต้องการของผู้ประกอบการ โดยเฉพาะการเรียนการสอนในรูปแบบทวิภาคี ที่ต้องได้รับความยินยอมจาก 3 ฝ่าย คือ สถานประกอบการ ผู้ปกครอง และผู้เรียนสมัครใจ ซึ่งสถานศึกษาจะต้องตรวจเช็คกับสถานประกอบการว่ามีการแพร่ระบาดในสถานประกอบหรือไม่  ต้องมีการป้องกันอย่างสูงสุด และมีแผนดูแลให้ความปลอดภัยกับนักเรียน นักศีกษา ที่จะเข้าไปเรียนรู้ฝึกประสบการณ์อาชีพ ตามหลักสูตรในสถานประกอบการ

เลขาธิการ กอศ.กล่าวต่อไปว่า นอกจากนี้ขอฝากให้ อาชีวศึกษาจังหวัด เร่งประชาสัมพันธ์ และปรับเปลี่ยนกิจกรรมเสริมหลักสูตรให้สอดคล้อง กับสถานศึกษาและพื้นที่ โดยมีความยืดหยุ่นซึ่ง สอศ.ได้นำเสนอและได้รับความเห็นชอบ ในเรื่องของการวัดผลประเมินผล จากเดิมที่ต้องวัดกระบวนการเรียนการสอนต่อภาคเรียน เป็นหนึ่งปีการศึกษา ปรับกระบวนการเรียนรู้ตามลำดับเน้นที่สมรรถนะหลัก คือเรื่องที่ต้องรู้  เพิ่มสิ่งที่ควรรู้ และ เสริมเรื่องน่ารู้ จัดการเรียนแบบ Block Course  และกิจกรรมเสริมหลักสูตรให้มีความยืดหยุ่นและสอดคล้องกับสถานการณ์ รวมถึงกรณี ที่ผู้เรียนเกิดติดเชื้อโคโรนา 2019 (โควิด-19) แล้วจำเป็นต้องกักตัว สถานศึกษาจะต้องปรับแผนรองรับเพื่อให้ผู้เรียนสามารถเรียนจบได้ตามหลักสูตรพร้อมกันนี้ในส่วนของอาชีวศึกษาเอกชน หน่วยศึกษานิเทศ(ศน.) จะต้องเข้าไปร่วมพัฒนาแนะนำการเรียนจัดการเรียนการสอนในรูปแบบต่างๆ เพื่อได้เป้าหมายผู้เรียนอาชีวศึกษารัฐและเอกชนมีสมรรถนะตรงตามมาตรฐานสาขาวิชาชีพและความต้องการของสถานประกอบการ

0 0 votes
Article Rating
Subscribe
Notify of
guest

0 Comments
Oldest
Newest Most Voted
Inline Feedbacks
View all comments