ที่สํานักงานศูนย์ประสานงานและบริหารการศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศปบ.จชต.) จังหวัดปัตตานี เมื่อวันที่ 3 พ.ย.2564 น.ส.ตรีนุช เทียนทอง รมว.ศึกษาธิการ(ศธ.) เป็นประธาน เปิดโครงการอาหารเช้าเพื่อน้อง : นักเรียนอิ่มท้อง ผู้ปกครองอิ่มใจ โดย น.ส.ตรีนุช กล่าวว่า จากการรับฟังรายงานของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(สพฐ.) ทําให้ทราบว่า หลายพื้นที่ยังคงมีนักเรียนที่มีภาวะทุพโภชนาการ และความเป็นอยู่ที่ ยากลําบาก น้อง ๆ ในหลายครอบครัวไม่ได้รับประทานอาหารเช้าก่อนไป โรงเรียน ซึ่งส่งผลต่อพัฒนาการของเด็กและเยาวชนอย่างมีนัยสําคัญ การได้รับสารอาหารที่เพียงพอ เป็นสิ่งจําเป็นสําหรับการพัฒนาคน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เด็กเล็กและน้อง ๆ ในวัยเรียน ซึ่งเป็นวัยที่กําลัง เจริญเติบโต และต้องการสารอาหารที่ครบถ้วนทั้ง 5 หมู่ มาใช้ในการพัฒนา กําลังกาย กําลังสมองอย่างเต็มที่ ซึ่งการได้รับสารอาหารที่เพียงพอนั้น ก็จะ ช่วยให้น้องๆมีร่างกายที่แข็งแรงและมีสติปัญญาที่เฉียบคม
รมว.ศึกษาธิการ กล่าวว่า นอกจากนี้การที่น้องๆอิ่มท้องก็นํามาซึ่งความอิ่มใจคือมีจิตใจที่พร้อม ที่จะเรียนรู้ เมื่อทั้งหมดทั้งมวลนี้ประกอบกัน ย่อมส่งผลดีต่อการจัดการ เรียนรผู้ของทุกฝ่าย ทั้งเด็ก ๆ คุณครู รวมถึงพ่อแม่ ผู้ปกครองทุกคน
“โครงการอาหารเช้าเพื่อน้อง:นักเรียนอิ่มท้องผู้ปกครองอิ่มใจ”เกิดขึ้น จากการตระหนักถึงความสําคัญของการแก้ปัญหาภาวะทุพโภชนาการในเด็ก และเยาวชน ซึ่งถือเป็นทรัพยากรที่สําคัญของชาติที่กระทรวงศึกษาธิการได้ ให้การดูแลอยู่ วันนี้เราได้นําร่องโครงการที่ปัตตานีเป็นจังหวัดแรกด้วยเล็งเห็นถึงความ จําเป็นที่จะต้องทําให้ลูกหลานของพี่น้องชาวปัตตานีทุกคน มีชีวิตความ เป็นอยู่ที่ดี และเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพ อันจะเป็นกําลังสําคัญในการ สร้างสรรค์ความเจริญและสันติสุข ให้บังเกิดกับจังหวัดปัตตานี และพื้นที่ จังหวัดชายแดนใต้ต่อไป”น.ส.ตรีนุช กล่าว
ด้าน ดร.อัมพร พินะสา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(กพฐ.)กล่าวว่า อาหารเช้าเพื่อน้อง:นักเรียนออามท้อง ผู้ปกครองอิ่มใจ มีวัตถุประสงค์เพื่อแก้ปัญหาภาวะทุพโภชนาการ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพทางการเรียนรู้ของนักเรียนลดความเสี่ยงการเกิดโรคในเด็กวัยเรียนตลอดจนช่วยแบ่งเบาภาระผู้ปกครองโดยการจัดหาอาหารเช้าที่มีคุณค่าทางโภชนาการครบถ้วนให้กับนักเรียน ซึ่ง สพฐ. ได้กำหนดให้จังหวัดปัตตานีเป็นจังหวัดนำร่องเนื่องจากจังหวัดปัตตานีเป็นพื้นที่ที่มีภาวะทุพโภชนาการของนักเรียนสูงเฉลี่ย31.16 ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยภาวะทุพโภชนาการของนักเรียนในโรงเรียนประถมศึกษา ประกอบกับพื้นที่ดังกล่าวเป็นสังคมพหุวัฒนธรรมที่มีความแตกต่างระหว่างเชื้อชาติศาสนาวัฒนธรรมวิถีชีวิตความเป็นอยู่ซึ่งผู้ปกครองส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำสวนยางพาราและอาชีพประมงเป็นหลักทำให้ผู้ปกครองไม่มีเวลาดูแลนักเรียนเพราะต้องออกไปประกอบอาชีพตั้งแต่เช้ามืดนักเรียนส่วนใหญ่จึงไม่ได้รับประทานอาหารเช้าก่อนไปโรงเรียนส่งผลให้นักเรียนมีภาวะทุพโภชนาการสูงอีกทั้งการดำเนินโครงการดังกล่าวทาง สพฐ. มุ่งหวังเป็นอย่างยิ่งที่จะเป็นส่วนหนึ่งในการร่วมพัฒนาคุณภาพชีวิตของนักเรียนและประชาชนในพื้นที่สังคมพหุวัฒนธรรมที่มีความเข้มแข็งโดยใช้เงินดอกผลกองทุนเพื่อโครงการอาหารกลางวันในโรงเรียนประถมศึกษาเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานโครงการดังกล่าวและได้กำหนดระยะเวลาดำเนินการโครงการในปีงบประมาณ 2565