เมื่อวันที่ 24 กันยายน 2564 ดร.สุเทพ แก่งสันเทียะ เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา(กอศ.) เปิดเผยว่า “สุดยอดนวัตกรรมหุ่นยนต์อาชีวศึกษา” และการคัดเลือกหุ่นยนต์อาชีวศึกษา (ABU) ระดับชาติ เป็นกิจกรรมที่สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาให้การส่งเสริม สนับสนุน ด้านการประดิษฐ์ คิดค้นและพัฒนาหุ่นยนต์มาอย่างต่อเนื่อง ในการพัฒนาหุ่นยนต์ให้ไปสู่การใช้งานได้จริง ทั้งในภาคอุตสาหกรรม ด้านการแพทย์ โดยเฉพาะกับช่วงที่ประเทศไทยอยู่ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (โควิด-19 ) หรือหุ่นยนต์ที่ช่วยเหลือ และอำนวยความสะดวกในการดำรงชีวิต ด้านต่าง ๆ เพื่อกระตุ้นให้เยาวชนเกิดแรงบันดาลใจ และเสริมสร้างให้นักเรียน นักศึกษารุ่นใหม่ หันมาสนใจศาสตร์ด้านนี้เพิ่มมากยิ่งขึ้น รวมทั้งการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ ส่งเสริมการทำงานเป็นทีม การคิดสร้างสรรค์อย่างเป็นระบบ ในปี 2564 สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ได้กำหนดจัดงาน Online “สุดยอดนวัตกรรมหุ่นยนต์อาชีวศึกษา” และการคัดเลือกหุ่นยนต์อาชีวศึกษา (ABU) ระดับชาติ ประจำปีพุทธศักราช 2564 ระหว่างวันที่ 26-28 กันยายน 2564

เลขาธิการ กอศ. กล่าวว่าภายในงาน “สุดยอดนวัตกรรมหุ่นยนต์อาชีวศึกษา” และการคัดเลือกหุ่นยนต์อาชีวศึกษา (ABU) ระดับชาติ ประจำปีพุทธศักราช 2564 ประกอบด้วยกิจกรรมการคัดเลือกหุ่นยนต์ 3 ประเภท ได้แก่ ประเภทที่ 1.หุ่นยนต์อาชีวศึกษา( ABU) โดยมีทีมที่จะเข้าร่วมการคัดเลือกในครั้งนี้ จำนวน 6 ทีม ได้แก่ 1. ทีมขุนด่านปราการชล วิทยาลัยเทคนิคนครนายก 2.ทีมองครักษ์โรบอท วิทยาลัยการอาชีพองครักษ์ จังหวัดนครนายก 3.ทีมยูคาลิปตัส วิทยาลัยการอาชีพกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี 4.ทีมหลานหลวงพ่อคูณ (เสาร์5) วิทยาลัยเทคนิคหลวงพ่อคูณ ปริสุทโธจังหวัด นครราชสีมา 5.ทีมศรีนนท์ วิทยาลัยเทคนิคนนทบุรี 6.ใบตองกุง วิทยาลัยการอาชีพหนองกุงศรี จังหวัด กาฬสินธุ์ ซึ่งผ่านการคัดเลือกรอบแรกมาจากทีมทั่วประเทศ 90 ทีม ซึ่งทีมที่ได้รับการคัดเลือกเป็นอันดับ1 จะได้เข้าร่วมการแข่งขันหุ่นยนต์ในระดับนานาชาติ Asia – Pacific Robot Contest 2021 Jimo , Chaina แบบออนไลน์ ผ่านโปรแกรม Zoom Meeting ในเดือนธันวาคม 2564

ประเภทที่ 2.หุ่นยนต์บริการทางการแพทย์อาชีวศึกษา มีทีมส่งผลงานเข้าร่วมการคัดเลือกจำนวน 39 ทีม และเข้าร่วมการคัดเลือกในครั้งนี้ จำนวน 6 ทีม ได้แก่ 1.ทีมเมืองร้อยเกาะ วิทยาลัยเทคนิคสุราษฎร์ธานี 2.ทีมข้าวหอมมะลิ 101 วิทยาลัยเทคนิคร้อยเอ็ด 3.ทีมกรุงเก่า 001 วิทยาลัยเทคนิคพระนครศรีอยุธยา 4.ทีมปางสีดา Robots วิทยาลัยเทคนิคสระแก้ว 5.ทีมมะขามหวานโรบอท วิทยาลัยเทคนิคเพชรบูรณ์ และ 6. ทีมKKWiND the Conqueror วิทยาลัยการอาชีพวังไกลกังวล จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

และประเภทที่ 3.หุ่นยนต์อัตโนมัติในงานอุตสาหกรรมอาชีวศึกษา มีทีมส่งผลงานเข้าร่วมการคัดจำนวน 29 ทีม และผ่านเข้าร่วมการคัดเลือกในครั้ง จำนวน 6 ทีม ได้แก่ 1ทีม.โอ่งมังกร วิทยาลัยเทคนิคราชบุรี 2.ทีมฉลามวิทย์ Robot วิทยาลัยอาชีวศึกษาเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์ (ชลบุรี) 3. ทีมMechatron วิทยาลัยเทคนิคลำปาง 4.ทีมเมืองร้อยเกาะ วิทยาลัยเทคนิคสุราษฎร์ธานี 5. ทีมPLB (กล้วยตาก) วิทยาลัยเทคนิคพิษณุโลก และ6.ทีมPhimai AGV วิทยาลัยเทคนิคพิมาย จังหวัดนครราชสีมา ทั้งนี้สามารถรับชมการคัดเลือกได้ในวันที่ 27 กันยายน 2564 ผ่านช่องทาง https://www.youtube.com/watch?v=AZpbOlYfvOk

รายชื่อทีมหุ่นยนต์อาชีวศึกษา : https://docs.google.com/document/d/1QydS-Naz9tMcnnvJ7pZEyJLtTK8UxKxn/edit?usp=sharing&ouid=115771515536205028216&rtpof=true&sd=true

0 0 votes
Article Rating
Subscribe
Notify of
guest

0 Comments
Oldest
Newest Most Voted
Inline Feedbacks
View all comments