เมื่อวันที่ 23ก.ย.2564 ดร.สุเทพ แก่งสันเทียะ  เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (กอศ.) เปิดเผยความคืบหน้าการสรรหานายกสภาสถาบันการอาชีวศึกษา ว่า ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการการอาชีวศึกษา เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการได้มาของนายกสภาสถาบันการอาชีวศึกษา การเสนอชื่อผู้สมควรดำรงตำแหน่งนายกสภาสถาบันการอาชีวศึกษา เนื่องจากนายกสภาสถาบันการอาชีวศึกษา 14 แห่ง ได้แก่ สถาบันการอาชีวศึกษาภาคกลาง 1 สถาบันการอาชีวศึกษาภาคกลาง 3 สถาบันการอาชีวศึกษาภาคกลาง 4 สถาบันการอาชีวศึกษาภาคใต้ 1 สถาบันการอาชีวศึกษาภาคใต้ 2 สถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2 สถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออก สถาบันการอาชีวศึกษาภาคเหนือ 3 สถาบันการอาชีวศึกษาภาคเหนือ 4 สถาบันการอาชีวศึกษากรุงเทพมหานคร สถาบันการอาชีวศึกษาเกษตรภาคเหนือ สถาบันการอาชีวศึกษาเกษตรภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สถาบันการอาชีวศึกษาเกษตรภาคกลาง และสถาบันการอาชีวศึกษาเกษตรภาคใต้ ดำรงตำแหน่งครบตามวาระตามที่กฎหมายกำหนดแล้ว ขณะนี้การตรวจสอบคุณสมบัติผู้ได้รับการเสนอชื่อของแต่ละสถาบันเสร็จเรียบร้อยแล้ว และจะมีการประชุมบอร์ด กอศ.ในสัปดาห์หน้า เพื่อสรรหาผู้มีความเหมาะสมสถาบันละ 2 รายชื่อ เสนอต่อรมว.ศึกษาธิการ พิจารณาคัดเลือกเพื่อแต่งตั้งเป็นนายกสภาสถาบันการอาชีวศึกษาแต่ละสถาบันต่อไป

เลขาธิการ กอศ. กล่าวต่อไปว่า สำหรับสถาบันการอาชีวศึกษา 9 แห่ง ได้แก่ สถาบันการอาชีวศึกษาภาคกลาง 2  สถาบันการอาชีวศึกษาภาคกลาง 5 สถาบันการอาชีวศึกษาภาคใต้ 3 สถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 1 สถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 3 สถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 4 สถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 5 สถาบันการอาชีวศึกษาภาคเหนือ 1 และสถาบันการอาชีวศึกษาภาคเหนือ 2 ซึ่งได้มีการสรรหาและเสนอรายชื่อให้ รมว.ศึกษาธิการ คัดเลือก เป็นนายกสภาสถาบันละ 2 รายชื่อไปแล้ว ซึ่งเป็นการสรรหาจากบอร์ด กอศ.ชุดเดิมที่หมดวาระไปแล้ว  รมว.ศึกษาธิการ จึงได้สั่งการให้สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา(สอศ.) หารือข้อกฎหมายกับสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ว่า  จะสามารถดำเนินการต่อไปได้หรือต้องกลับไปเริ่มต้นใหม่ ซึ่ง ทางกฤษฎีกาได้ตอบกลับมาแล้วว่าให้ดำเนินการต่อไปได้ ดังนั้นในส่วนของ 9 สถาบันดังกล่าวจะไม่มีการสรรหาใหม่ รมว.ศึกษาธิการสามารถพิจารณาคัดเลือกจากรายชื่อที่ได้เสนอไปก่อนหน้านี้ได้เลย  ยกเว้นคนที่เสียชีวิตซึ่งจะต้องมีการสรรเสนอขึ้นไปใหม่ ทั้งนี้มีความเป็นไปได้ว่า รมว.ศึกษาธิการ อาจจะพิจารณาแต่งตั้งนายกสภาสถาบันการอาชีวศึกษาพร้อมกันทั้ง 23 สถาบัน ซึ่งจะเป็นผลดีคือครบวาระพร้อมกัน

“สำหรับกรณีที่มีกระแสข่าวว่า เลขาธิการ กอศ.ไม่สนใจสถาบันการอาชีวศึกษา เรื่องนี้ไม่เป็นความจริง ที่ผ่านมา สอศ.ให้ความสำคัญสถาบันอาชีวะอยู่แล้ว  เพียงแต่สถาบันต้องการให้กระจายอำนาจการบริหารจัดการไปที่สถาบัน ซึ่ง สอศ.ได้กระจายอำนาจไปแล้ว แต่บางเรื่องไม่สามารถกระจายอำนาจได้ เนื่องจากกฎหมายไม่ให้ช่องในการกระจายอำนาจ เช่น การบริหารบุคคลจะต้องเป็นไปตามกฎหมายของคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา(ก.ค.ศ.) ซึ่งเป็นอำนาจคู่ระหว่างผู้มีอำนาจตามมาตรา 53 พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา คือ เลขาธิการ กอศ. กับ องค์คณะ คือ ก.ค.ศ.สอศ. ซึ่งสถาบันไม่มีองค์คณะนี้”เลขาธิการ กอศ.กล่าว

 

 

0 0 votes
Article Rating
Subscribe
Notify of
guest

2 Comments
Oldest
Newest Most Voted
Inline Feedbacks
View all comments
ดร.ไพฑูรย์ สิงห์ไข่มุกข์
ดร.ไพฑูรย์ สิงห์ไข่มุกข์
3 years ago

สำหรับสถาบันการอาชีวศึกษาภาคกลาง ๒ ควรมีการสรรหานายกสภาสถาบันฯใหม่ครับ เพราะท่านเดิมเป็นมานานแล้ว ไม่มีอะไรก้าวหน้าเลย ไม่มีองค์ความรู้ในกการบริหารอาชีวะที่เป้นกำลังหลักสำคัญในการพัฒนาประเทศในยุคปัจจุบัน เหมือนถอยหลังด้วยซ้ำ

ดร.ไพฑูรย์ สิงห์ไข่มุกข์
ดร.ไพฑูรย์ สิงห์ไข่มุกข์
3 years ago

นายกสภาสถาบันการอาชีวศึกษา ควรจะมีองค์ความรู้ในด้านการศึกษาด้านอาชีวะที่มีความรู้ในเชิงบูรณาการ ไม่ควรเป็นนักการเมืองที่มีแต่จำนวนคน แต่ขาดวิสัยทัศน์ที่จะผลักดันไปข้างหน้า