เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน ดร.สุภัทร จำปาทอง ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดเผยว่า ตนได้ลงนามในประกาศป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 หรือโควิด-19 โดยแบ่งเป็นพื้นที่ กรุงเทพฯ นนทบุรี ปทุมธานี และสมุทรปราการ ซึ่งจำนวนผู้ติดเชื้อยังเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ขอให้หน่วยงานในสังกัดศธ.ไม่ใช่สถานศึกษา จัดบุคลากรหมุนเวียนมาปฏิบัติงาน ณ สถานที่ทำงาน ไม่เกิน 10% ส่วนพื้นที่อื่น ๆ ให้จัดบุคลากรหมุนเวียนมาปฏิบัติงานตามความเหมาะสม ส่วนอีก 73 จังหวัดหากจะเปิดภาคเรียน ต้องได้รับอนุญาตจากศูนย์บริหารสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบค.)ต่อไป

ปลัดศธ.กล่าวต่อไปว่า สำหรับความคืบหน้าการฉีดวัคซีนป้องกันเชื้อไวรัสโควิด-19 ให้กับครูและบุคลากรทางการศึกษานั้น ขณะนี้หลายพื้นที่ได้มีการฉีดวัคซีนนำร่องไปเรียบร้อยแล้ว ทั้งรัฐและเอกชน และจะมีการปูพรมฉีดทั่วประเทศ และวันที่ 7 มิ.ย.นี้ จะเป็นวันดีเดย์  ของข้าราชการศธ.ในพื้นที่สีแดงเฉพาะกรุงเทพฯ จะจัดให้ฉีดที่สถานีกลางบางซื่อ ประมาณ 6 หมื่นคน โดยจะมีการจัดเป็นรอบๆ เพื่อไม่ให้เกิดความแออัด และทยอยฉีดจนครบทุกคน ซึ่งอาจใช้เวลา 2-3 วัน  ส่วนในจังหวัดต่าง ๆ ได้ทำหนังสือถึงผู้ว่าราชการจังหวัด และศึกษาธิการจังหวัด (ศธจ.) เพื่อประสานให้ครูได้รับการฉีดวัคซีน โดยสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (สพท.) จะทำหน้าที่รวบรวมรายชื่อและจัดตาราง การฉีดให้กับครูและบุคลากรทางการศึกษา เพื่อลดการแออัด

ดร.อัมพร พินะสา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) กล่าวว่า สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.)ได้ดำเนินการสำรวจความโรงเรียนที่พร้อมจัดการเรียนการสอน รวมทั้งสิ้น 28,698 แห่ง ไม่รวมข้าราชการในสังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ(สศศ.) โดยมีโรงเรียนที่พร้อมเปิดเรียน วันที่ 1 มิถุนายน จำนวน 12,571 แห่ง แบ่งเป็นการเรียนแบบ Onsite จำนวน 5,865 แห่ง Onair 2,377 แห่ง ondemand 2,187 แห่ง online 2,926 แห่ง และ onhand 8,603 แห่ง เปิดเรียน วันที่ 14 มุนายน 15,951 แห่ง และเปิดเรียน วันที่ 2 – 13 มิถุนายน 171 แห่ง สำหรับการเรียนการสอนจะมี 5 รูปแบบ คือ 1. On Site ให้มาเรียนตามปกติได้ในพื้นที่ที่ไม่ใช่สีแดง แต่ต้องเว้นระยะหรือลดจำนวนนักเรียนต่อห้องลง 2. On Air คือการออกอากาศผ่าน DLTV เป็นตัวหลักในการกระจายการสอน 3. Online ให้ครูเป็นผู้จัดการเรียนการสอน ผ่านเครื่องมือที่ทางโรงเรียนกระจายไปสู่นักเรียน 4. On Demand เป็นการใช้งานผ่านแอปพลิเคชั่นต่างๆ ที่ครูกับนักเรียนใช้ร่วมกัน และ 5. On Hand หากจัดในรูปแบบอื่น ๆ ที่กล่าวมาไม่ได้ ให้โรงเรียนจัดแบบ On Hand คือจัดใบงานให้กับนักเรียน เป็นลักษณะแบบเรียนสำเร็จรูป ให้นักเรียนรับไปเป็นชุดไปเรียนด้วยตัวเองที่บ้าน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับบริบทของโรงเรียนแต่ละแห่ง โรงเรียนสามารถจัดสอนแบบคละรูปแบบและวิธีการเรียนการสอนได้ โดยคำนึงถึงความปลอดภัยของนักเรียนและผู้ปกครองเป็นสำคัญ อย่างไรก็ตามขณะนี้อยู่ระหว่าง สำรวจจำนวนครูและนักเรียนที่เรียนผ่านระบบออนไลน์เพื่อประสานกับ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ(กสทช.) ช่วยเหลือดูแลค่าอินเตอร์เน็ตให้กับครูและนักเรียนต่อไป

เลขาธิการกพฐ.กล่าวอีกว่า ทั้งนี้การจัดการเรียนการสอนครั้งนี้ ไม่ได้ใช้ครูหรือโรงเรียนเป็นฐาน แต่ให้โรงเรียนปรับแบบการเรียนให้เหมาะสม สามารถนำวิธีการแต่ละรูปแบบมาจัดสอนแบบคละกันได้ โดยยึดความพร้อมและความสมัครใจของนักเรียนเป็นสำคัญ เมื่อนักเรียนเลือกช่องทางใดก็ให้สื่อสารกับครู และจัดสอนตามรูปแบบที่นักเรียนต้องการ ส่วนโรงเรียน

5 1 vote
Article Rating
Subscribe
Notify of
guest

0 Comments
Oldest
Newest Most Voted
Inline Feedbacks
View all comments