เมื่อวันที่ 24 พ.ค.2564 นางสาวตรีนุช เทียนทอง รมว.ศึกษาธิการ ปัจจุบันสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ระลอกใหม่ที่กำลังแพร่ระบาดในประเทศไทย ยังมีความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งปัจจัยเสี่ยงเกิดจาการแพร่กระจายเชื้อผ่านฝอยละอองเป็นหลัก ซึ่งผู้ที่อยู่ใกล้ชิดอาจติดเชื้อได้ จากการสัมผัสหรือการหายใจ จึงได้มีนโยบายมอบหมายให้ สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา(สอศ.) คิดค้นนวัตกรรม ที่ใช้สำหรับ โรงพยาบาลทั่วไป และโรงพยาบาลสนาม เพื่อลดภาระและลดการสัมผัสผู้ป่วยโดยตรง ของบุคลากรทางการแพทย์ ซึ่งสอศ.ได้นำผลงานสิ่งประดิษฐ์จากสถานศึกษาในสังกัด จำนวน 6 แห่ง มาจัดแสดง ณ กระทรวงศึกษาธิการ โดยวิทยาลัยเทคนิคระยอง นำหุ่นยนต์พ่นหมอกฆ่าเชื้อ เป็นเครื่องทำความชื้นระบบอัลตร้าโซนิคทำงานโดยใช้การสั่นสะเทือนไดอะแฟรมโลหะที่ความถี่ระดับ Ultra Sonic ใช้หลักการเพียโซอิเล็กทริกหรือเปลี่ยนพลังงานไฟฟ้าเป็นพลังงานกล ให้เดินความสั่นด้วยความถี่สูงในน้ำ ทำให้เกิดละอองน้ำขนาดเล็กมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 0.6 ไมครอน ซึ่งจะระเหยเร็วมากในอากาศ สามารถผลิตหมอกได้ไม่น้อยกว่า 9,000 มิลลิลิตร ต่อชั่วโมง ใช้ไฟฟ้ากระแสตรง 45 โวลต์ แอมแปร์ ควบคุมน้ำเข้าอัตโนมัติ แล้วหยุดการทำงานเมื่อน้ำต่ำกว่าระดับที่กำหนด ด้วยลูกลอย โดยเมื่อหมอกถูกพ่นออกมาเป็นละอองเล็กๆ จะมีพื้นที่ผิวสัมผัสเพิ่มขึ้น จึงเป็นการขยายประสิทธิภาพของน้ำยาฆ่าเชื้อ ให้เข้าไปจับตัวกับเชื้อโรค ที่ติดมากับเสื้อผ้าหรือร่างกายได้ดีขึ้น อีกทั้งยังลดการระคายเคืองจากน้ำยาฆ่าเชื้อได้ดีขึ้น
รมว.ศึกษาธฺการ กล่าวต่อไปว่า หุ่นยนต์ฆ่าเชื้อโรคโดยหลอด UV-C จะทำงานโดยการเคลื่อนที่ตามจุดต่างๆ ภายในห้อง ซึ่งเมื่อเจอสิ่งกีดขวาง หุ่นยนต์จะหลบสิ่งกีดขวางอัตโนมัติ จะมีหลอด UV-C ที่ติดตั้งบนตัวหุ่นยนต์ด้วยรังสีความยาวคลื่น 222 นาโนมิเตอร์ออกมา เพื่อฆ่าเชื้อในอากาศหรือพื้นผิวของห้อง ซึ่งคลื่นรังสีจะปลอดภัยกับมนุษย์ ส่วนรถพ่นหมอกฆ่าเชื้อ สามารถผลิตหมอกได้ไม่น้อยกว่า 18,000 มิลลิลิตรต่อชั่วโมง โดยเมื่อหมอกถูกพ่นออกมาเป็นละอองเล็กๆ จะมีพื้นที่ผิวสัมผัสเพิ่มขึ้น จึงเป็นการขยายประสิทธิภาพของน้ำยาฆ่าเชื้อ ให้เข้าไปจับตัวกับเชื้อโรค ที่อยู่ตรมพื้นที่ต่างๆ ได้ดีขึ้น โดยนวัตกรรมดังกล่าวข้างต้น จะใช้ความสามารถและการพัฒนาของวิทยาลัยอาชีวศึกษา พัฒนาและสร้างสรรค์ โดยใช้งบประมาณน้อยและคุ้มค่า สามารถผลิตได้อย่างรวดเร็ว และได้ผลคุ้มค่า ซึ่งจะป้องกันการแพร่เชื่อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ได้อย่างดี
นางสาวตรีนุช กล่าวอีกว่า ส่วนวิทยาลัยเทคนิคพิจิตร ได้ทำกล่องควบคุมความดันลบ สำหรับผู้ป่วยวิกฤตโรคติดต่อร้ายแรงด้วยแสง UVC ช่วยให้อากาศที่ผู้ป่วยหายใจออกมาจะถูกกรองด้วยแผ่นกรองไฟฟ้าสถิต ที่สามารถกรองไวรัสได้ 99.99% กล่องควบคุมความดันบวก สำหรับแพทย์ ผู้ทำการรักษาผู้ป่วยวิกฤตโรคติดต่อร้ายแรง ช่วยให้อากาศที่บุคลากรทางการแพทย์หายใจเข้าไปเป็นอากาศบริสุทธิ์ หุ่นยนต์ส่งอุปกรณ์ทางการแพทย์ ให้กับผู้ป่วย ขนส่งอาหาร ยา เวชภัณฑ์แก่คนไข้โดยใช้การบังคับควบคุมทางไกล สามารถสื่อสารผ่านจอที่ติดบนตัวหุ่นยนต์ และยังสามารถวัดอุณหภูมิร่างกายผู้ป่วยด้วยกล้องอินฟาเรด ทำให้ลดการสัมผัสได้โดยตรง ระหว่างบุคลกรทางการแพทย์ และ ผู้ป่วย
“วิทยาลัยเทคนิคแพร่ ทำหุ่นยนต์ “ช่างใจดี V2” เป็นหุ่นยนต์ส่งอุปกรณ์ทางการแพทย์ ให้กับผู้ป่วย ขนส่งอาหาร ยา เวชภัณฑ์แก่คนไข้โดยใช้การบังคับควบคุมทางไกล สามารถสื่อสารผ่านจอที่ติดบนตัวหุ่นยนต์ เพื่อลดการสัมผัส ระหว่างบุคลกรทางการแพทย์ และ ผู้ป่วย หน้าการป้องกันโควิด-19 แบบแรงดันบวก เป็นหมวกสำหรับสวมใส่ศรีษะ มีพัดลมดูดอากาศจากภายนอกผ่านตัวกรองที่มีประสิทธิภาพสูง ป้องกันไม่ให้เชื้อโรค เชื้อไวรัส ให้เข้ามาสู่ทางเดินหายใจเข้าสู่ร่างกายของผู้ปฏิบัติงาน หุ่นยนต์ “ช่างใจดี V3” เพื่อการพ่นน้ำยาฆ่าเชื้อโรคในพื้นที่ส่วนกลางหรือพื้นที่ในอาคารที่มีการแพร่ระบาด และโดรนสื่อสารและวัดอุณหภูมิความร้อน เพื่อดูแลความปลอดภัยสาธารณะหรือพื้นที่จัดกิจกรรมที่มีการร่วมกลุ่มคน โดยสามารถใช้การกระจายเสียงทางอากาศ และมีการติดตั้งเซ็นเซอร์ถ่ายภาพความร้อนเพื่อวัดอุณหภูมิในร่างกาย
วิทยาลัยเทคนิคปราจีนบุรี ทำหุ่นยนต์ส่งอาหารและยาสำหรับผู้ป่วย วิทยาลัยเทคนิคสกลนคร ทำหุ่นยนต์ส่งอาหารและยาสำหรับผู้ป่วย วิทยาลัยเทคนิคนนทบุรี ทำหุ่นยนต์ส่งอาหารและยาสำหรับผู้ป่วย ซึ่ง สิ่งประดิษฐ์ต่างๆ เหล่านี้ สามารถใช้งานได้จริง และได้ส่งให้กับโรงพยาบาล และโรงพยาบาลสนามใช้แล้ว ซึ่งในอนาคต จะมีการผลิตนวัตกรรมเพิ่มขึ้น เพื่อให้รองรับกับปริมาณที่โรงพยาบาลต้องการ โดยคาดหวังว่าจะให้นักเรียน นักศึกษา อาชีวศึกษา ช่วยกันคิดค้นสิ่งประดิษฐ์ต่างๆ เพื่อช่วยเหลือสังคมให้เข้ากับสถานการณ์ต่อไป”นางสาวตรีนุช กล่าว