เมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม นพ.จรัส สุวรรณเวลา ประธานคณะกรรมการอิสระเพื่ อการปฏิรูปการศึกษา (กอปศ.) เปิดเผยภายหลังการประชุม กอปศ. ว่า ที่ประชุมมีมติเสนอร่าง พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ ไปยังคณะรัฐมนตรี(ค.ร.ม.) โดยขณะนี้ อยู่ระหว่างการเตรียมเอกสาร คาดว่าจะนำเสนอภายใน 2 สัปดาห์นี้ และหากมี พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ จะเกิดการปฏิรูปการศึกษาอย่างที่ ทุกคนในสังคมคาดหวังแน่นอน
นพ.จิรุตม์ ศรีรัตนบัลล์ ประธานคณะอนุกรรมการเฉพาะกิจศึ กษาแนวทางการจัดทำร่าง พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ กล่าวว่า หลังจากจัดประชุมเชิงปฏิบัติ การเพื่อรับฟังความคิดเห็น เกี่ยวกับร่าง พ.ร.บ. การศึกษาแห่งชาติ เป็นครั้งสุดท้าย กอปศ. ได้รับฟังข้อคิดเห็น และข้อเสนอแนะต่างๆ มารวบรวมปรับรายละเอียดให้ชั ดเจนเพิ่มมากขึ้นและจากการประชุมวันนี้ ที่ประชุมมีมติ ให้ยังคงสาระสำคัญตามที่ได้ ร่าง พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ ไว้
นพ.จิรุตม์ กล่าวต่อไปว่า ทั้งนี้สรุป สาระของพ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ ที่สำคัญไว้ 5 ประเด็น ดังนี้ 1.การวางระบบการศึกษาที่รองรั บความหลากหลาย 2.การยกระดับคุณภาพการศึกษา 3. การให้ความเป็นอิสระของสถานศึ กษา ที่ให้สถานศึกษามีอิ สระในการดำเนินการ 4 ด้านหลัก ได้แก่ วิชาการ การบริหารงานบุคคล การบริหารงบประมาณและการบริ หารงานทั่วไป 4.การบริหารจัดการคุณภาพในการจั ดการศึกษา มุ่งเน้นการพัฒนาคุณภาพไม่ใช่ การตรวจสอบ และนำผลการประเมินมาใช้พัฒนาขั บเคลื่อนการพัฒนาคุณภาพการศึ กษาทั้งระบบและ 5. ให้มีแผนการศึกษาแห่งชาติ โดยกอปศ. กำหนดให้มี คณะกรรมการกำหนดนโยบายการศึ กษาแห่งชาติ ที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน ซึ่งมีหน้าที่ในการจั ดทำแผนการศึกษาแห่งชาติ ให้รอบด้าน เพื่อสนับสนุนการพัฒนาการศึ กษาของประเทศ
ดร.ชัยพฤกษ์ เสรีรักษ์ เสขาธิการสภาการศึกษา กล่าวว่าส่วนในบทเฉพาะกาล ในพ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ ฉบับนี้กำหนดให้มี สำนักงานคณะกรรมการนโยบายการศึ กษาแห่งชาติ โดยให้ สกศ. ปรับตัวมาทำหน้าที่นี้ ขึ้นอยู่กับกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ให้มีเลขาธิการเป็นหัวหน้าสำนั กงานมีฐานะเทียบเท่ากับปลั ดกระทรวง ซึ่งร่างพ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ มีทั้งสิ้น 104 มาตรา แบ่งเป็นเนื้อหา 92 มาตราและบทเฉพาะกาล 12 มาตรา และการนำเสนอ ร่าง พ.ร.บ.การศึกษาห่าติ จะเสนอไป 2 ทางด้วยกันคือ 1.เสนอไปยังเลขาธิการคณะรั ฐมนตรี เพื่อเข้าพิจารณาในการประชุม ครม. และ2. ส่งไปยังคณะกรรมการยุทธศาสตร์ ชาติ เพื่อพิจารณาอีกทางหนึ่ง